29.6.2021
3 วิธีสำรวจ ช่างสำรวจทุกคนต้องรู้ไว้!

ช่างแว่นเลยจะมาแนะนำ '3 วิธีสำรวจ ช่างสำรวจทุกคนต้องรู้ไว้ ! ' เพราะพื้นฐานคือรากฐานสำคัญของคนทุกคน แม้แต่ช่างอย่างเราๆ เพื่อจะได้เข้าใจพื้นฐานงานสำรวจ-รังวัดกัน ซึ่งการแบ่งประเภทสามารถทำได้หลากหลาย แต่สำหรับบทความนี้ จะแบ่งวิธีการหา-อุปกรณ์/เครื่องที่ใช้ มีรูปประกอบอ่านง่ายๆ ชิวๆไม่เกิน 5 นาที

Summary *สรุป*

     ไม่ว่าใครก็ควรมีโอกาสได้เรียนรู้โดยเฉพาะเรื่องพื้นฐานสำคัญ ช่างแว่นเลยจะมาแนะนำ '3 วิธีสำรวจ ช่างสำรวจทุกคนต้องรู้ไว้ ! ' เพื่อจะได้เข้าใจพื้นฐานงานสำรวจ-รังวัดกัน ซึ่งการแบ่งประเภทสามารถทำได้หลากหลาย แต่สำหรับบทความนี้ จะแบ่งวิธีการหา-อุปกรณ์/เครื่องที่ใช้ครับ

ทดสอบ ตัวหนา ทดสอบตัวหนา

01 Ground Survey สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม
01 Ground Survey สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม

Ground Survey: สำรวจโดยวัดบนพื้นดิน

    วิธีการนี้ถือได้ว่าเป็นการสำรวจยอดนิยมอันดับหนึ่งของวิศวกรรมก็ว่าได้โดยการสำรวจบนพื้นดินนั้นส่วนจะเป็นการวัดระยะทางจุดพิกัดหรือวัดมุมแนวในพื้นที่ต่างๆของโครงการ สถานก่อสร้าง

     ส่วนเครื่องมือสำรวจประเภทนี้ก็จะหนีไม่พ้นความคุ้นเคยกันที่ดีของช่างสำรวจอย่างเราๆ เช่น กล้องเซอร์เวย์ Total Station กล้องวัดระดับ กล้องวัดมุม รวมถึงอุปกรณ์เสริมงานสำรวจต่างๆ อาทิ ล้อวัดระยะทาง ไม้สต๊าฟ เครื่องมือเลเซอร์ยิงแนว เป็นต้น

02 Aerial Survey สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม
02 Aerial Survey สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม

Aerial Survey: สำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ

     วิธีการสำรวจด้วยภาพทางอากาศได้รับความนิยมและ ถูกใช้งานน้อยสุดหากเทียบกับวิธีการอื่นๆ เพราะนอกจากหน้าที่ทำสำรวจเพื่อการทำแผนที่ภูมิวิธีการสำรวจนี้ มักจะเป็นตัวสำรองของวิธีการสำรวจแบบภาคพื้นดินซะมากกว่า ซึ่งภาพถ่ายนั้นสามารถมาจากเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ หรือ โดรนก็ได้

     หลังจากนั้นภาพถ่ายทางอากาศจะถูกนำมาใช้ 2 ลักษณะวิธี คือ การแปลภาพถ่าย (Photo Interpretation) และ การวัดตำแหน่งบนภาพถ่าย (Photogrammetry)

    ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในงานสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ ที่รู้จักกันหลักๆเลย ก็จะมีเครื่องคำนวณพื้นที่บนแผนที่ (Planimeter), เครื่องวัดระยะทางบนแผนที่ (Map Meter) และกล้องอ่านภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งตามปกติแล้ว อุปกรณ์พวกเฉพาะทางพวกนี้ จะค่อนข้างหายาก แต่ทางบริษัทCST นั้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของช่างสำรวจที่กำลังหาได้ครับ

03 Remote Sensing and GPS สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม
03 Remote Sensing and GPS สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม

Remote Sensing and Global Positioning System; GPS: สำรวจด้วยภาพถ่ายทางดาวเทียม หรือหาพิกัดตำแหน่งด้วยดาวเทียม

     เป็นงานสำรวจด้วยข้อมูลจากดาวเทียมฟังดูค่อนข้างทันสมัย ทว่ารู้หรือไม่ในสมัยก่อนวิธีการนี้เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับน้อยที่สุด เนื่องจากความไม่ค่อยแม่นยำของข้อมูลดาวเทียม จึงไม่สามารถนำมาใช้ในงานด้านวิศวกรรมได้

     กลับกันในปัจจุบันที่ความสเถียรและถูกต้องมาเป็นอันดับต้นๆ ในการหาตำแหน่งพิกัดนั่นทำให้แม้แต่GPSตัวเล็กๆเอง ก็เพียงพอสำหรับการทำงานสำรวจ รวมถึงประยุกต์ใช้งานในด้านอื่นๆอีกมากมาย

ในวงการช่างสำรวจนอกจาก GPS แล้ว GNSS; อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รับสัญญาณดาวเทียม ก็เป็นอีกหนึ่งพระเอกหลักในงานสำรวจประเภททำแผนที่เลยก็ว่าได้ โดยอุปกรณ์ที่เป็นแบรนด์ระดับโลกได้มาตราฐานสากลที่คุ้นเคย ก็ไม่พ้น GARMIN, SUUNTO, SANDING หรือแม้แต่แบรนด์ยุโรปน้องใหม่ GEOMAX ของ CST เราก็ยังมีจัดจำหน่าย พร้อมสอนวิธีใช้งาน

 

Summary (สรุปเนื้อหา)

     ถึงแม้ 3 วิธีสำรวจช่างสำรวจทุกคนต้องรู้ไว้ ! จะค่อนข้างเบสิคและคิดว่าช่างหลายๆคน น่าจะรู้ลึกกว่านี้อีกก็ว่าได้ แต่ช่างแว่นไม่อยากให้เด็กรุ่นใหม่ ๆ ขาดพื้นฐานสำคัญเหล่านี้ รวมถึงเปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้ในช่วงยุคโควิด-19 แบบนี้ด้วยครับ
     สรุปแบบให้จำง่ายๆเลยก็คือ “ด.อ.ดท.” | 1.สำรวจบนพื้นดิน  2.สำรวจด้วยภาพทางอากาศ  3.สำรวจด้วยภาพและพิกัดจากดาวเทียม

ถ้าท่านคิดว่าบทความนี้ดีให้สาระกับเด็กๆหรือคุยย้อนวัยกับเพื่อนร่วมรุ่นก็อย่าลืมกดแชร์ FACEBOOK กันได้

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.