เริ่มจากใต้ดิน
ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2542 การก่อสร้าง MRT Happy Blue Line ได้เริ่มต้นขึ้น โดยเป็นการก่อสร้างช่วงสถานีหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่งเป็นเส้นทางที่อยู่ใต้ดินทั้งหมด เนื่องจากเส้นทางที่ถูกวางไว้นั้น ผ่านพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาแล้วหรืออยู่ระหว่างพัฒนา รวมถึงภาพลักษณ์ที่ดีของเมืองรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนี้จึงถูกนำไปไว้ใต้ดิน
ซึ่งสังเกตได้ว่าเส้นทางรถไฟนั้นจะอยู่ใต้ถนนรัชดาภิเษกเป็นส่วนใหญ่ เพราะการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้าง หากสร้างใต้ถนนที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคม (หรือสำนักโยธากรุงเทพมหานคร) ปัญหาเรื่องที่ดินก็จะน้อยลงไป บวกกับผลของมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2537 ที่กำหนดให้ระบบรถไฟฟ้านั้น “ต้อง” อยู่ใต้ดิน ในพื้นที่ 25 ตร.กม. ของกรุงเทพฯ ย่านเจริญภายในจึงเป็น ‘รถไฟฟ้าใต้ดิน’ นั่นเอง
นอกจากนี้ที่เลือกเส้นทางใต้ถนนหลัก ก็เพื่อหลีกเหลี่ยงการขุดอุโมงค์แล้วเจอกับฐานรากอาคารต่าง ๆ เนื่องจากพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีดินเหนียวอ่อน ทำให้การสร้างอาคารสูง-ใหญ่ทำให้ต้องใช้เสาเข็มเพื่อกันโครงสร้างทรุด แล้วจะรู้ได้อย่างไรละ ว่าดินในพื้นที่นั้น ๆ เป็นดินแบบไหน ใช้ “Hand Anger” สิ! อุปกรณ์ขนาดพกพา ตัวช่วยที่จะช่วยให้สามารถระบุชนิดของดินอย่างง่ายได้ เพียงแค่ปัก Hang Anger ลงไปในดินผู้ต้องสงสัย หมุนเพื่อให้ท่อเหล็กลงไปเก็บตัวอย่างดิน จากนั้นก็นำดินที่ได้มาทดสอบคุณสมบัติดินในสนามและห้องทดลอง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ “ดินเองก็ลำบาก” ได้เลย
กลับมาที่พื้นที่เมืองที่ประชากรหนาแน่น ตั้งแต่สถานีลุมพินีจนถึงสถานีสามย่าน ชานชาลาของสถานีเหล่านี้จะเป็นชานชาลาแยกกัน 2 ชั้น โดยชานชาลาที่ 1 จะอยู่คนละชั้นกับชานชาลาที่ 2 นั่นก็เพราะว่าช่วงบริเวณนั้นมีอาคารสูงอยู่มากนั่นเอง ทำให้มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถขยายสถานีไปด้านข้างได้มากนัก
คลิป/เว็บ
-https://www.youtube.com/watch?v=QrdvtI24tPg
-https://www.renderthailand.com/silom-mrt-station/
ทะยานสู่ท้องฟ้า
หลังจากสัญจรเส้นทางฝั่งพระนคร เราจะข้ามแม่เจ้าพระยาไปสู่ฝั่งธนบุรี เจ้ารถไฟฟ้าจะพาเราทะยานสู่โลกแห่งแสงสว่าง ถ้ามาจากสถานีบางซื่อ รถไฟฟ้าจะค่อย ๆ ไต่ระดับสู่พื้นดิน และค่อย ๆ ยกตัวขึ้น ก่อนจะลอยอยู่เหนือระดับถนนที่สถานีเตาปูน และจากสถานีสนามไชย เข้าฝั่งธนฯ ที่สถานีอิสรภาพ ออกมาพบกับสถานีลอยฟ้าที่ท่าพระในที่สุด เพราะเป็นเส้นทางที่อยู่เหนือถนนจรัญสนิทวงศ์ และนอกพื้นที่ควบคุมของ ครม. จึงสามารถก่อสร้างเป็นเส้นทางลอยฟ้าได้
อย่างที่ผู้อ่านอาจทราบว่า มูลค่าในการก่อสร้างใต้ดินนั้น มีราคาก่อสร้างและบำรุงรักษา สูงกว่าโครงการบนพื้นที่ดินอยู่มากทีเดียว
ไม่ใช่แค่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสายเดียวที่แบ่งเส้นทางบนได้ดินและลอยฟ้า แต่ยังมีสายสีส้มที่เชื่อมต่อจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมที่อยู่ใต้ดิน มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ ก่อนจะโผล่และยกระดับที่สถานีสัมมากรนั่นเอง
Summary
จากบทความ “เชื่อมยุโรปกับเกาะอังกฤษด้วยอุโมงค์ใต้ทะเล!” ทำให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นก็มีบุคลากรและการพัฒนาการก่อสร้างไม่แพ้ชาติใดในโลกเลย หากมีกำลังในการสนับสนุนละก็ รับรองว่าประเทศไทยจะไม่แพ้ชาติใดในโลกในทุก ๆ ด้านแน่นอน