จากไกลเป็นใกล้
ย้อนไปในศตวรรษที่ 17 ฮานส์ ลิเพอร์ซี (Hans Lippershey) ช่างประกอบแว่นชาวเนเธอร์แลนด์ได้ประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลตัวแรกของโลกด้วยการนำเลนส์นูน 2 ชิ้น มาวางซ้อนกัน
ภาพที่ได้จากการมองผ่านเลนส์ทั้งสองนั้นจะถูกขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อนำไปมองภาพที่อยู่ไกล ๆ หลังจากนั้นเพียง 1 ปี กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ก็ได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์เพื่อใช้ในการสำรวจอวกาศด้วยการใช้เลนส์เว้าและเลนส์นูน นับเป็นก้าวแรกของการสำรวจที่สามารถขยายขอบเขตออกไปนอกโลกได้
ต่อมา โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) นักดาราศาสตร์ โหราศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ก็ได้ปรับกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ โดยเปลี่ยนเลนส์ใกล้ตาจากเลนส์เว้า เป็นเลนส์นูน ทำให้ภาพที่ได้มุมมองที่กว้างมากกว่ากล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ
แต่ภาพที่ได้จะเป็นภาพกลับหัว และกล้องระบบนี้ของโยฮันเนสก็ถูกพัฒนาและกลายเป็นกล้องโทรทรรศน์ในปัจจุบันนั่นเอง
จากกล้องโทรทรรศน์สู่กล้องสำรวจ
กล้องวัดระดับ (Auto Level) นั้นถูกพัฒนามาจากกล้องส่องทางไกลของเคปเลอร์[1] ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อการสำรวจโดยเฉพาะ เมื่อมองผ่านรูกล้องแล้วจะเห็นเส้นสายใย (Stadia Diaphragms, Stadia Mark, Crosshair)
โดยเส้นกากบาทใหญ่จะใช้สำหรับวัดระดับความสูง ณ จุดนั้น ๆ ส่วน 2 เส้นเล็กในแนวนอนจะเอาไว้คำนวณระยะทางในแนวราบระหว่างจุดตั้งกล้องและจุดตั้งไม้สต๊าฟ
ใช้กล้องโทรทรรศน์กับกล้องส่องทางไกลแทนกล้องสำรวจได้ไหม?
กล้องทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมานั้น สามารถส่องมองได้ในระยะไกล ๆ ได้ทั้งหมด โดยกล้องแต่ละชนิดจะมีกำลังขยายในช่วงที่แตกต่างกัน ยิ่งมีค่ามากเท่าไหร่ ก็จะมองได้ในระยะไกลมากขึ้นเท่านั้น
สำหรับกล้องส่องทางไกลจะมีกำลังขยายอยู่ในช่วง 4 - 16 เท่า หมายถึงเมื่อเราอยู่ห่างจากวัตถุเป้าหมาย 120 เมตร และใช้กล้องที่มีกำลังขยาย 12 เท่า เราจะสามารถมองเห็นเป้าหมายได้เหมือนว่าเราอยู่ห่างจากเป้าหมายเพียง 10 เมตรเท่านั้น[2]
ซึ่งความเหมาะสมของการเลือกกำลังขยายขึ้นอยู่กับว่าจะใช้สำหรับจุดประสงค์ใด ไม่ว่าจะเป็นการส่องสัตว์เพื่อศึกษาธรรมชาติหรือการล่าสัตว์ การส่องทางทะเล จนกระทั่งการใช้ในโรงละครหรือการแสดง
ส่วนกล้องโทรทรรศน์จะคำนวณกำลังขยายได้จากสูตร
กำลังขยาย (m) = ความยาวโฟกัสเลนส์ใกล้วัตถุหรือกระจกเว้า (f0) / โฟกัสเลนส์ใกล้ตา (fe) เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์เป็นกล้องที่ใช้สำหรับสำรวจในอวกาศ จึงสามารถส่องได้ในระยะไกลจากชั้นบรรยากาศโลก ไปจนถึงดาวที่อยู่นอกระบบสุริยะจักรวาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้องและกำลังขยาย
และกล้องสำรวจไม่ได้มีกำลังขยายระบุ แต่จะระบุเป็นระยะที่สามารถใช้ส่องและเก็บค่าแทน เช่น กล้องGM-52 (2") / GM-55 (5")
- วัดระยะโดยไม่ใช้เป้า ( Reflectorless ) 500 เมตร
- วัดระยะได้ 4,000 เมตร โดยใช้เป้า 1 ดวง เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ไม่ว่ากล้องชนิดใดก็ตาม (กล้องถ่ายรูปในโทรศัพท์ก็ด้วย) หากยิ่งมีกำลังขยายสูงเท่าไหร่ จะเกิดการสั่นของภาพได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมุมมองการรับภาพมีขนาดน้อยลง ในกล้องที่มีกำลังขยายมาก ๆ ก็มักใช้ขาตั้งกล้องร่วมด้วยเพื่อให้กล้องมั่นคงไม่สั่นสะเทือน
Summary
ดังนั้น เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ของกล้องแต่ละชนิด จึงควรใช้ให้ถูกประเภท นอกจากนี้ กล้องส่องทางไกลและกล้องโทรทรรศน์นั้นไม่มีสายใย จึงไม่สามารถคำนวณระยะทางและระดับได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะนำกล้องโทรทรรศ์และกล้องส่องทางไกลมาใช้แทนกล้องสำรวจ และกล้องสำรวจแบบไหนก็เหมาะกับท่านผู้อ่าน จิ้มกล่องแชทเพื่อสอบถาม CST ได้เลยนะ!