Compensation Range
Compensation Range หรือ “ย่านการชดเชย” คือ ค่าความคลาดเคลื่อนของระดับน้ำบนกล้องสำรวจที่ยอมรับได้ มีหน่วยเป็นลิปดา กล่าวคือเมื่อมีการใช้งานกล้องสำรวจ และลูกน้ำฟองกลมหรือระดับน้ำในแนวดิ่ง เกิดการเคลื่อนตัวออกจากจุดที่ได้ตั้งค่าไว้ (ออกจากจุดสมดุล) กล้องสำรวจตัวนั้นจะยังอนุโลมให้ใช้งานต่อไปได้ จนกว่าลูกน้ำฟองกลมจะขยับเลยออกจากค่าสูงสุดที่กล้องได้ถูกกำหนดไว้ พอถึงตรงนั้นกล้องสำรวจตัวนั้นจะไม่ควรถูกนำมาใช้งานได้ จนกว่าจะมีการตั้งค่ากล้องให้ลูกน้ำฟองกลมอยู่ในแนวระดับที่ขนานกับพื้นที่ตั้งกล้อง
ช่วงที่ลูกน้ำฟองกลมมีการขยับเขยื้อนออกจากจุดสมดุล ไปจนถึงจุดที่กล้องเกินจะรับไหว และกล้องใช้งานไม่ได้ คือ Compensation Range นั่นเอง
ลูกน้ำเคลื่อนเกิดจากอะไรได้บ้าง?
สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกน้ำฟองกลมเคลื่อนที่ออกจากจุดสมดุลนั้น มีหลายประการ ประการแรกคือเกิดจากตัวอุปกรณ์เสริมตรงสามขา หากล็อคสามขาไม่แน่นเพียงพอในขณะที่ทำการวัดสำรวจ น้ำหนักของตัวกล้องอาจจะถูกถ่ายเทลงสามขาอย่างไม่สมดุล ทำให้ขาข้างใดข้างหนึ่งได้รับน้ำหนักมากกว่า อุปกรณ์อาจค่อย ๆ เลื่อนพับ และทำให้กล้องอยู่ในระดับที่ไม่สมดุล ฟองอากาศก็ค่อย ๆ ขยับออกจากศูนย์กลาง
ประการต่อไป คือปัจจัยภายนอกอย่างสภาพพื้นผิวที่วางอุปกรณ์สำรวจ เช่น พื้นดินที่มีการอุ้มน้ำมากเกินไปทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง สามขาก็จะจมลงในดินช้า ๆ ทั้งสามขานั้นจมลงดินไปพร้อม ๆ กันก็ช่วยให้กล้องรักษาสมดุลได้ แต่ความจริงไม่เป็นแบบนั้น! (อ่านวิธีแก้ปัญหาดินเปียกน้ำได้ที่นี่ - มวลน้ำกับงานสำรวจ)
ประการสุดท้ายของบทความนี้ ก็คือกล้องสำรวจของท่านอาจจะไม่ได้มาตรฐาน หรือว่าต้องกำลังต้องการการซ่อมบำรุง! ซึ่งในส่วนนี้เอง CST มีบริการปรับเทียบอุปกรณ์ ซ่อมแซมแก้ไขเปลี่ยนอะไหล่ หรือให้เช่าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์งานสำรวจด้วยนะ! (โทรมาสิ โทรมาสิ แล้วฉันจะรีบไป กดเลย 095-371-0204)
หากแก้ปัญหาเบื้องต้นเหล่านี้ได้แล้ว ลูกน้ำฟองกลมของกล้องสำรวจ ก็จะอยู่ภายใน Compensation Range จะทำงานได้อย่างราบรื่นนั่นเอง
Summary
Compensation Range ของกล้องสำรวจนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ค่าที่ได้จากการวัดสำรวจมีความแม่นยำ และเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น