3.12.2021
การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีตโดยการเจาะ

เวลาดูหนังแนวปล้น/สืบสวน เครื่องมือหนึ่งที่ต้องโผล่มาคือสว่านเครื่องใหญ่ไว้เจาะตู้เซฟ ซึ่งในงานวิศวกรรมเองก็มีเครื่องมือที่หน้าตาคล้ายสว่านสุดๆ จนผู้เขียนเห็นแล้วอดนึกถึงไม่ได้ (หาดูได้ในเว็บ CST เลย) โดยเจ้าเครื่องมือนี้คือตัวช่วยชั้นดีในการเจาะหาความแข็งแรงของคอนกรีต

Summary *สรุป*

การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีตโดยการเจาะคืออะไร
การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีตโดยการเจาะคืออะไร

การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีตโดยการเจาะคืออะไร?

     อย่างที่เคยกล่าวในบทความ ‘Rebound Hammer Test’ ก่อนหน้านี้ว่าการทดสอบความแข็งแรงของคอนกรีตจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

     ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงการเจาะคอนกรีตจากตัวโครงสร้างไปทดสอบด้วย Concrete Coring Machine Test หรือ การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีตด้วยการเจาะ ที่เป็นการทดสอบคอนกรีต ‘แบบทำลาย’ นั่นเอง

     วิธีการทำก็แสนง่าย แค่เราเอาเครื่อง Concrete Coring Machine ไปเก็บตัวอย่างในจุดที่เราต้องการทราบความแข็งแรง เช่น บริเวณเสา คาน หรือส่วนที่ต้องรับแรงมากๆ แต่ที่สำคัญเลย ห้ามเจาะโดนเหล็กเสริมโครงสร้างเด็ดขาด โดยจะเก็บตัวอย่างเป็นรูปทรงกระบอกจำนวน 3 ก้อน เพื่อนำไปทดสอบแรงอัดในห้องแล็บต่อไป

     ข้อดีคือวิธีนี้จะมีความแม่นยำของผลทดสอบมากกว่าการทดสอบแบบไม่ทำลายอย่าง ‘Rebound Hammer Test’

เมื่อไรถึงจะเจาะคอนกรีตไปทดสอบและจะรู้ได้อย่างไรว่าคอนกรีตแข็งแรง
เมื่อไรถึงจะเจาะคอนกรีตไปทดสอบและจะรู้ได้อย่างไรว่าคอนกรีตแข็งแรง

เมื่อไรถึงจะเจาะคอนกรีตไปทดสอบ? และจะรู้ได้อย่างไรว่าคอนกรีตแข็งแรง?

     การที่จะเจาะส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้าง เราจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของโครงสร้างนั้น ดังนั้นเวลาที่สมควรจะเจาะคอนกรีตเพื่อนำไปทดสอบจะต้องให้คอนกรีตมีการ Set ตัว หรือมีอายุไม่ต่ำกว่า 14 วัน โดยในกรณีที่เป็นคอนกรีตแห้ง คอนกรีตที่เจาะมาแล้วจะถูกนำไปผึ่งให้แห้งสนิทเป็นเวลา 7 วัน แต่ในกรณีที่เก็บตัวอย่างจากโครงสร้างที่สัมผัสความชื้น ตัวอย่างจะต้องแช่น้ำอย่างน้อย 40 ชั่วโมง ก่อนนำมาทดสอบแรงอัดทันทีหลังจากเอาตัวอย่างขึ้นจากน้ำ

     การทดสอบแรงอัดก็แสนง่าย(อีกแล้ว) แค่เอาก้อนตัวอย่างเข้าเครื่องอัดแบบไฮดรอลิค แล้วจัดการกดก้อนตัวอย่างจนระเบิด ตู้มมม! (บางทีก็ระเบิดแบบนี้จริงๆ ค่ะ) เราก็จะได้ค่ารับแรงอัดของคอนกรีตโครงสร้างนั้นๆ เกณฑ์ที่มาสารถบอกเราได้ว่าคอนกรีตนั้นแข็งแรงหรือไม่ ขออนุญาตนำเกณฑ์ของ ACI 318-99 มา นั่นคือ

     นอกจากจะทำให้รู้กำลังรับแรงอัดแล้ว ยังทำให้เรารู้ว่าคอนกรีตของโครงสร้างนั้นมีรูพรุน หรือมีความไม่สมบูรณ์ที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่ตัวอาคารในภายหลังหรือไม่อีกด้วย

แล้วโครงสร้างหลังจากทดสอบจะเป็นอย่างไรต่อ
แล้วโครงสร้างหลังจากทดสอบจะเป็นอย่างไรต่อ

แล้วโครงสร้างหลังจากทดสอบจะเป็นอย่างไรต่อ?

     การทดสอบแบบทำลายย่อมทำให้โครงสร้างของอาคารเสียหาย (เล็กน้อยเท่านั้นค่ะ อย่าห่วง) โดยเฉพาะการเจาะด้วย Concrete Coring Machine (เจ้าเครื่องคล้ายสว่านขนาดใหญ่) จะทำให้โครงสร้างเป็นรู ซึ่งมองดูแล้วก็ขัดหูขัดตาและเจ้าของโครงการคงไม่ปลื้มแน่ แต่หลังจากการเจาะเรามีวิธีซ่อมโดยการใช้ปูนทรายกำลังสูงแบบไม่หดตัวใส่เข้าไปในรูที่เจาะ รอให้มัน Set ตัว และทำการตกแต่ง แค่นี้โครงสร้างของอาคารก็กลับมาดูเหมือนเดิมแล้ว

SUMMARY

     การทดสอบความแข็งแรงของคอนกรีตโดยการเจาะ หรือ Concrete Coring Machine Test เป็นการทดสอบแบบทำลายโครงสร้าง โดยจะใช้เครื่องเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างของโครงสร้างอาคาร มีข้อควรระวังคือห้ามเจาะโดนเหล็กเสริมโครงสร้างเด็ดขาด! หลังจากที่ได้ก้อนตัวอย่างแล้วจะนำไปทดสอบแรงอัดอีกครั้ง  นอกจากนี้เราจะสามารถรู้ว่าโครงสร้างคอนกรีตนั้นมีความสมบูรณ์หรือไม่

     หลังจากที่ทดสอบแล้ว จะมีการซ่อมในส่วนที่เจาะออกมา โดยการใช้ปูนทรายแบบกำลังสูงแบบไม่หดตัวใส่เข้าไปในรูที่เจาะ ทั้งนี้การทำสอบแบบนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.