กลับมาอีกครั้งกับ #มาตรฐาน101กับCST หลังจากได้รู้จักมาตรฐาน JIS กันไปแล้ว บทความนี้ CST จะแนะนำอีกมาตรฐานอุตสาหกรรมจากประเทศเยอรมนีซึ่งมีฉายาว่าเป็นพญาอินทรีแห่งเทคโนโลยีและวิศวกรรม เมืองดี สุราเด่น เน้นขาหมู เฟื่องฟูเทคโนโลยี! บอกเลยว่าใคร #ทีมเยอรมนี จะพลาดบทความนี้ไม่ได้เด็ดขาด
มาตรฐาน DIN (Deutsches Institut für Normung) เป็นมาตรฐานสากลที่ถูกพัฒนาโดย The German Institute for Standardisation ซึ่งเป็นมาตรฐานที่แทบจะเรียกว่าได้ครบถ้วนที่สุด โดยมีกว่า 33,000 มาตรฐานสำหรับกระบวนการผลิตและชิ้นงาน เช่น คุณภาพ การควบคุมขั้นตอนการผลิตขั้นต่ำ คุณลักษณะของชิ้นงาน ขนาดของชิ้นงาน เป็นต้น DIN ถือเป็นหนึ่งในมาตรฐานระดับโลก หรือ ISO (International Organization for Standardization) ด้วยนะเรียกได้ว่า DIN นั้นเป็นทั้งสถาบันที่สร้างมาตรฐานและตัวมาตรฐานเองนั่นเอง
สถาบัน DIN ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1917 เดิมใช้ชื่อว่า "Normenausschuss der deutschen Industrie" (NADI) (ภาษาอังกฤษ Standards Association of German Industry) หลังจากนั้น 1 ปี DIN 1 "Taper Pins" หรือ สลักปลายเรียวแหลม มาตราฐานแรกของ DIN ก็ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ
ต่อมา DIN ได้เผยแพร่มาตรฐานต่าง ๆ ออกมาเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็เปลี่ยนชื่อสถาบันมาเป็น Deutsches Institut für Normung (DIN) (ภาษาอังกฤษ The German Institute for Standardisation) ในปี ค.ศ. 1975 และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ สำหรับบริษัทหรือ Supplier ที่สนใจก็สามารถร่วมพัฒนามาตรฐาน DIN ได้ด้วย เรียกได้ว่าทุกคนและทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงมาตรฐาน และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนาได้ เป็นมาตรฐานแห่งชาติจริง ๆ !
เช่นเดียวกันกับมาตรฐานทั่วไป DIN เองก็มีวิธีการเข้ารหัสเพื่อจัดหมวดหมู่ โดยแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ดังนี้(ในบทความนี้จะแทน 0 เป็นตัวเลข)
1. DIN 0 แทนมาตรฐานภายในประเทศเยอรมนี ก่อนจะนำไปใช้ในระดับโลก ซึ่งสามารถแบ่งหมวดย่อยเป็น
1.1) E DIN 0 = ร่างมาตรฐาน (Entwurf เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า ร่าง หรือ Draft)
1.2) DIN V 0 = มาตรฐานเบื้องต้น (vorläufig หรือ vorbereitend ก็เป็นภาษาเยอรมันที่แปลว่า เบื้องต้น หรือ Preliminary )
2.DIN EN 0 แทนมาตรฐานยุโรป (Europeane Norm, EN) เวอร์ชั่นภาษาเยอรมัน
3.DIN ISO 0 แทนมาตรฐาน ISO เวอร์ชั่นภาษาเยอรมัน
4.DIN EN ISO 0 จะใช้ในกรณีที่เป็นมาตรฐานนั้น ๆ เป็นมาตรฐานที่ถูกปรับหรือนำมาใช้จากมาตรฐาน EN
โดยท่านสามารถค้นหามาตรฐาน DIN ได้จากเว็บไซต์ DIN standards library เพียงแค่พิมพ์ในช่องค้นหา และใช้เครื่องมือช่วยกรอง (Filter) มาตรฐานต่าง ๆ ของ DIN (รวมทั้งมาตรฐานอื่น ๆ ด้วย) ก็จะขึ้นมาให้ท่านเลือกชมแล้ว (แต่ว่ามีค่าใช้จ่ายนะ)
ปัจจุบันมาตรฐาน DIN ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก เนื่องจากประเทศไทยมักจะใช้มาตรฐาน ASTM, JIS หรือ TIS ไปเสียส่วนใหญ่ และความที่ประเทศเยอรมนีเองเป็นประเทศที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เราจึงมักจะเห็นสิ่งพิมพ์หรือเอกสารเผยแพร่จากเยอรมนีเป็นภาษาเยอรมัน แต่ปัจจุบันเยอรมนีก็เริ่มตีพิมพ์และแปลเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นความรู้ CST ย่อมไม่มีพลาดจะที่นำเสนอให้แก่ผู้อ่านทุกท่านแน่นอน เพราะเราคือ #CSTผู้สนับสนุนวงการงานสำรวจและก่อสร้างไทย
Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.
Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.