GNSS คืออะไร?
ระบบ GNSS คือโครงข่ายสัญญาณดาวเทียมที่จะบอกตำแหน่งดาวเทียมให้ตัวรับสัญญาณบนพื้นโลก เพื่อคำนวณระยะและตำแหน่งที่ตัวรับสัญญาณตั้งอยู่
หน้าตาของ เครื่องรับสัญญาณ GNSS หรือ เครื่อง GNSS เหมือนกับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น แต่ต่างตรงมีไม้เสียบที่ฐาน และมาพร้อมกับ ‘หน้าจอแสดงผล’ อย่างเครื่อง GNSS ZENITH-60 ที่เราขายก็หน้าตาเหมือนหุ่นยนต์ดูดฝุ่นนะ
หลักการทำงานของเครื่อง GNSS
ก่อนอื่นเราต้องอ่านคู่มือเพื่อทำความรู้จักกับเครื่อง GNSS และอุปกรณ์ที่มาพร้อมกับตัวเครื่องก่อนค่ะ เหมือนจะคบกับใครเราก็ต้องศึกษานิสัยของเขา
จากนั้นทำการตั้งค่าต่าง ๆ ตามคู่มือให้เสร็จสรรพ ขอบอกไว้ก่อนนะคะว่าวิธีการเก็บข้อมูลโดยเครื่อง GNSS จะต้องมี 2 เครื่องขึ้นไป เป็น ‘เครื่อง Control point’ กับ ‘เครื่อง Receiver’ เพื่อเป็นการรับส่งสัญญาณ
ระบบการ Post-Processing คือ?
‘เครื่อง GNSS’ มีระบบการทำงานที่น่าทึ่งอย่าง Post-Processing โดยระบบนี้จะเริ่มจากการเก็บข้อมูลดิบของตัวเครื่อง จากนั้นก็จะทำการประมวลค่าตำแหน่งที่แม่นยำผ่านซอฟต์แวร์ที่มากับตัวเครื่อง
ความสะดวกสบายสไตล์ Post-Processing
ขอแชร์ความสะดวกสบายของเครื่อง GNSS ที่มีระบบ Post-Processing จากการใช้งานจริงนะคะ
หากเป็นผู้ใช้งานใหม่ก็จะงงกับวิธีการใช้นิดหน่อย แต่หลังจากที่ศึกษาวิธีการใช้งานแล้ว เราที่ตอนนั้นเป็นนักศึกษาฝึกงานก็สามารถเก็บค่าพิกัดของโครงการใหญ่ระดับประเทศได้ภายในเวลาไม่นาน
ด้วยความที่มีระบบ Post-Processing สำเร็จรูปในตัว ยิ่งทำให้งานของเราง่ายและเร็วไปอีก เพราะเราไม่ต้องเอาค่าพิกัดทีเป็นข้อมูลดิบมา Plot ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ยุ่งยาก สามารถทำงานเบ็ดเสร็จได้ในครั้งเดียว
ข้อเสียก็มีค่ะ เครื่อง GNSS จำเป็นต้องได้รับสัญญาณขณะที่ท้องฟ้าโปร่ง ถ้ามีเมฆฝนหรือฟ้าครึ้มก็อาจทำให้ได้ค่าที่เพี้ยนได้ แต่นับว่าเป็นข้อเสียที่เราสามารถเลี่ยงได้โดยการออกไปเก็บข้อมูลวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสยังไงล่ะ!
SUMMARY
GNSS Post-Processing เป็นวิธีการหาค่าพิกัดจากสัญญาณดาวเทียม ผ่านซอฟต์แวร์ที่มากับตัวเครื่อง GNSS อย่างเครื่อง ‘GNSS ZENITH-60’ ที่เราย้ำบ่อย ๆ ก็มีซอฟต์แวร์สำเร็จรูป สามารถเปิดเครื่อง เก็บข้อมูล ก็จะได้ค่าพิกัดที่แม่นยำ สะดวกสบาย ไม่ต้องคิดเลขให้ปวดหัว ไม่ต้องเอาข้อมูลไปเข้าโปรแกรมคำนวณใด ๆ เลยค่ะ