หากใครชอบฟังหรือรับชมคอนเทนต์เกี่ยวกับคดีลึกลับ-อันตราย ก็อาจรู้จักกับช่องรายการเหล่านี้ เช่น Aimmuno หรือ ลึกลับครับผม เป็นต้น โดยช่องเหล่าจะนำคดีหรือเคสต่างๆในอดีตมาเล่าพร้อมให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความผิดพลาดของมนุษย์ที่นำมาสูญเสียอันน่าสลด ทั้งการกระทำกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง หรือ สิ่งที่เกิดจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ในทางที่ผิด
ผู้เขียนได้ฟังเนื้อหาล่าสุดจากรายการ 'หมอตังค์-ฟาโรห์' คดีสารเคมีหายนะ สังหารหมู่ เล่าเรื่องจริงสุดสยอง | ลึกลับครับผม | EP.32 ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับแร่ธาตุเรเดียม หรือ ที่คนเก่าคนแก่จะรู้จักกันในนาม พรายน้ำ ที่มีคุณสมบัติเรืองแสงได้ รวมถึงรายการอื่นๆ ก็ได้มีการนำคดีที่มีคนเสียชีวิตจากแร่ธาตุเรเดียมนี้มากพูดถึงมากมาย
โดยมนุษย์ไม่อาจค้นพบได้หาไม่มีการสำรวจ นั่นทำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ วงการงานสำรวจอย่างเรา ๆ จะมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าธาตุเรเดียมตัวนี้อย่างใกล้ชิด
และสิ่งผู้เขียนได้ตรวจสอบมา…ก็มีเรื่องน่าสนใจดังต่อไปนี้….
ข้อมูลของแร่เรเดียมและถิ่นที่อยู่ของมัน
แร่ธาตุ เรเดียม เป็นแร่สีขาวแวววาว เป็นแร่ธาตุที่จะปรากฎในตารางเคมีม.ปลายที่เด็กสายวิทย์จะร้องไห้ยกเว้นคนที่ชอบเคมี โดยสัญลักษณ์คือ Ra เลขอะตอม 88 #ลองแทงงวดนี้ดู
ถ้าให้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ เข้าใจง่ายดียมมันก็คือก้อนโลหะกัมมันตภาพรังสี ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเปลือกโลกของเรา ซึ่งการจะเจอมันได้ จะต้องเกิดจากการสกัดจากแร่ธาตุตัวอื่นอีกทีนึง ไม่ได้จ๊ะเอ๋เห็นเลยตามถ้ำทั่วไป โดยแร่ที่มียูเรเนียมฝังอยู่นั้น เช่น พิตช์เบลนด์ คาโนไทต์ โดยแร่เหล่านี้ จะพบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวเม็กซิโก ออสเตรเลีย และแอฟริกา
แต่สถานที่ที่ทำให้เรารู้จักกับเรเดียมนั้น นำมาจากเหมืองที่ขุดแร่อยู่ในเขตปกครองของออสเตรีย -ซึ่งเหมืองแร่นั้นก็มาจากการสำรวจที่ดิน ที่เป็นกระบวนการกำหนดตำแหน่งของลักษณะทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นบนพื้นผิวโลก โดยต้องอาศัยช่างสำรวจอย่างเรา ๆ นี่เอง
จึงอนุมานได้อย่างนึงว่า หลังมีการสำรวจที่ดินเพื่อสร้างเหมือง คนขุดเหมืองก็เป็นคนนำส่งแร่พิตช์เบลนด์ให้กับนักวิทยาศาสตร์อย่างมารี กูรี และสามี ปีแอร์ กูรี ผู้ที่สกัดและค้นพบธาตุตัวใหม่อย่าง เรเดียม ในปี 1902 และขณะเดียวกัน พวกเราก็เสียชีวิต จากสิ่งที่พวกเขาค้นพบ AKA ตายด้วยเรเดียม ในเสื้อกราวน์ของตนเอง…เศร้าจริง
แน่นอนว่า การเสียชีวิตแร่ที่ตนเองค้นพบจะทำให้เรารู้ได้ว่าแร่ธาตุนี้มันอันตรายแค่ไหน แต่มันย่อมมีประโยชน์มากพอที่จะทำให้มนุษย์เลือกที่จะศึกษาใช้งานต่อมายังปัจจุบัน และประโยชน์นั้นก็คงต้องใช้คำว่า “น่าพิศวง” เลยทีเดีย
แร่เรเดียมผู้สังหารและและรักษาชีวิตไปพร้อมกัน
ตามที่เกริ่นไปข้างต้นว่าแร่ธาตุเรเดียม เป็นโลหะกัมมันตภาพรังสี ซึ่งแปลว่าหากไม่มีการป้องกันขณะงาน หรือปริมาณที่ใช้นั้นไม่เหมาะสม สิ่งที่ตามมา ก็ไม่มีทางพ้นจากโรคกรามเรเดียม (Radium Jaw) มันคือโรคส่งผลทำให้เกิดภาวะฝีงอกบนใบหน้าส่วนล่างจากโรคมะเร็งเนื้อเยื่อ (Sarcoma)
ถ้าให้นึกภาพง่าย ๆ คือ คุณที่นั่งกินข้าวอยู่ แล้วจู่กรามก็หลุดออกจากอย่างง่ายดาย แค่นึกภาพก็สยองแล้ว แต่ที่น่าสลดกว่าคือสิ่งนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเหล่าสาวเรเดียม จากโรงงานยูเอส เรเดียม คอร์ปอเรชัน ในช่วงศตวรรษที่ 19 ณ ประเทศอเมริกานั่นเอง
ทว่าในตรงข้าม หากจัดการปริมาณเรเดียมให้เหมาะสมและมีการป้องกันอย่างเคร่งครัด แร่เรเดียมผู้คร่าชีวิตมนุษย์ ก็สามารถใช้รักษาชีวิตของคนเราจากมะเร็งโดยการฉายรังสีของมันได้เช่นเดียวกัน
เช่นเดียวกับทุก ๆ สิ่งที่ล้วนมีข้อดีและข้อเสีย แร่ธาตุเรเดียมก็คือธรรมชาติอย่างหนึ่งที่จะเป็นโทษหรือประโยชน์ขึ้นอยู่กับตัวเรา และที่น่าตกใจกว่าก็คือทุกคนอาจมีเรเดียมอยู่ในบ้านอยู่แล้ว! #เรเดียวอยู่ในบ้านฉัน
ประโยชน์เรเดียมในชีวิตประจำวันรวมถึงงานสำรวจก็ใช้ !?
ในส่วนของชีวิตประจำวันที่อาจไม่เคยสังเกต ให้คุณลองสังเกตนาฬิกาของคุณว่า ตอนกลางคืนหรือเวลาอยู่ในที่มืดสนิทนั้น ปลายเข็มบอกเวลามันเรืองแสงสีขาวระเรื่อได้หรือไม่? หากใช่ แปลว่า ยินดีด้วย! นาฬิกาของคุณมีพรายน้ำ!! ซึ่งอย่าเพิ่งตกใจทิ้งนาฬิกาไปเชียว เพราะด้วยปริมาณอันน้อยนิด และมีกรอบหน้าปัดป้องกัน มันก็ไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ คุณได้ และทำประโยชน์ให้รู้เวลายามค่ำคืนได้นั่นเอง
และในส่วนของช่างสำรวจ เราก็ใช้มันทุกวันเช่นกัน!
ในการสำรวจที่ดิน เรเดียมสามารถใช้เป็นแหล่งกำเนิดรังสีสำหรับการสำรวจระยะไกล วิธีนี้เกี่ยวข้องกับการใช้รังสีเพื่อทะลุผ่านพื้นดินและให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวด้านล่าง ตัวอย่างเช่น สามารถใช้สเปกโทรสโกปีรังสีแกมมาเพื่อตรวจจับการมีอยู่ของธาตุบางชนิด รวมทั้งเรเดียมในดิน ข้อมูลนี้สามารถใช้เพื่อระบุทรัพยากรที่เป็นไปได้ เช่น แร่ธาตุหรือน้ำใต้ดิน หรือเพื่อตรวจหาอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
แร่ธาตุเรเดียมนั้นยังถูกใช้ในอุปกรณ์สำรวจทั่วไปด้วย เช่น ระดับ กล้องสำรวจ และสถานีรวม ซึ่งปล่อยแหล่งกำเนิดกัมมันตภาพรังสีระดับต่ำที่สามารถใช้เพื่อกำหนดระดับความสูงของจุดต่างๆ บนพื้นผิวโลก เครื่องตรวจจับสามารถตรวจจับรังสีที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดเรเดียมได้ และความสูงของจุด สามารถคำนวณได้จากมุมและระยะห่างระหว่างเครื่องตรวจจับและแหล่งกำเนิด
อย่างไรก็ตาม เรเดียวก็ยังคงเป็นกัมมันตภาพรังสีวันยันค่ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่างสำรวจที่ดิน จะต้องปฏิบัติตามระเบียบความปลอดภัยที่เหมาะสมเมื่อใช้อุปกรณ์ที่มีเรเดียมเป็นส่วนประกอบหลักและกำจัดทิ้งอย่างเหมาะสมเสมอ
สรุปแร่ธาตุเรเดียมกับงานสำรวจ
จากข้อมูลข้างต้นทั้งหมด ทำให้นักเขียนสรุปได้ว่า เรเดียม นอกจากจะเป็นแร่ธาตุที่ใช้งานคู่กับงานสำรวจจำพวก รังสีต่างๆในอุปกรณ์งานสำรวจระยะไกลแล้ว มันก็มีอยู่แทบทุกที่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มนุษย์จะคิดค้นและนำมาใช้งานต่อ ดังนั้น ไม่สำคัญว่าแร่ธาตุตัวนี้จะมีประโยชน์หรือโทษอันน่ากลัวแค่ไหน เช่นเดียวกันทุกสิ่งทุกอย่าง จงรู้จักเรียนรู้ให้แจ่มแจ้งและใช้ด้วยความเหมาะสม ช่างสำรวจก็จะปลอดภัย และได้ประโยชน์มากมายจากมัน