ปริซึมคืออะไร?
ในทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ปริซึมคือแท่งตันที่มีหน้าตัดหัวท้าย โดยเป็นหน้าตัดที่มีรูปร่างและขนาดพื้นที่เท่ากัน และด้านข้างทุกด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานเพื่อให้แสงที่สะท้อนเข้ามาหักเห ทำมาจากวัสดุโปร่งใส (Transparent)
ด้วยความสามารถในการหักเหแสงของปริซึม ทำให้มันถูกใช้ประโยชน์ในหลายวงการ ทั้งด้านการศึกษาทฤษฎีอะตอมของไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) และหลักการเคลื่อนของแสงผ่านตัวกลาง หรือ หลักการของเฮยเคินส์ (Huygens–Fresnel Principle)
วงการจักษุแพทย์เองก็นำปริซึมมาใช้สำหรับการรักษาอาการสายตาสั้น-ยาวด้วยเลนส์นูนและเลนส์เว้า ซึ่งทำหน้าที่รวมและกระจายแสงตามลำดับ
ปริซึม พระรองวงการสำรวจ
กลับมาที่วงการงานสำรวจ ในการใช้กล้องสำรวจ Total Station นั้น แม้ว่าจะมีพระเอกเป็นตัวกล้องสำรวจเอนกประสงค์แล้วก็ตาม แต่ถ้าขาดพระรองอย่าง “ปริซึม” ไปแล้ว แน่นอนว่าการทำงานคงต้องสะดุดหยุดชะงักแน่นอน
ปริซึมที่ใช้ในงานสำรวจนั้นเป็นปริซึมโปร่งใส ด้านหลังปิดวัสดุทึบแสง ทำให้แสงไม่สามารถลอดผ่านไปได้ กลับกัน รังสีที่ตกกระทบบนปริซึมด้วยมุมตั้งฉากจะสะท้อนกลับไปเป็นในทิศทางขนานกับรังสีที่เข้ามา
แล้วจึงจะคำนวณระยะทาง มุมก้มหรือเงยได้นั่นเอง นอกจากนี้ปริซึมยังสามารถใช้ในการระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ของจุดที่ตั้งปริซึมได้อีกด้วย
แล้วจะเลือกใช้ปริซึมแบบไหนดีล่ะ?
วันนี้ CST ขอเสนอ! ชุดปริซึมที่ใช้สามขาในการตั้ง หากท่านมีสามขาอยู่ในครอบครอง เพียงแค่สั่งซื้อปริซึมและนำไปประกอบ ก็พร้อมใช้งานคู่กับ Total Station แล้ว
สำหรับท่านที่มีไม้โพล ทางเราก็มีบริการปริซึมที่ติดตั้งบนไม้โพลให้บริการ นอกจากนี้ปริซึมของ CST นั้นก็มีคุณสมบัติทนทาน ไม่กลัวแดดกลัวฝน แถมยังทนต่ออุณหภูมิที่ร้อนแรงของประเทศไทยได้อีกด้วยนะ! เพียงแค่คุณผู้อ่าน คลิ๊กเบา ๆ ที่กล่องข้อความ ณ มุมขวาล่างของเว็บไซต์เรา แอดมินที่แสนน่ารักและทรงสเน่ห์ ก็พร้อมให้บริการ
Summary
กล้องสำรวจ Total Station นั้นกำลังเริ่มได้รับความนิยมในวงการสำรวจของประเทศไทยเพราะความสะดวกสบายในการใช้งาน ยังไงผู้เขียนก็ขอฝากพระรองตัวน้อย ๆ อย่างปริซึมไว้ในอ้อมแขนของผู้อ่านทุกท่านด้วยนะ