14.8.2024
Liquid Limit ของดินคืออะไร ทำไมต้องรู้? พร้อมวิธีทำ Liquid Limit Test!

ของเหลว หรือ Liquid ถ้าพูดถึงคำนี้ทุกท่านนึกถึงอะไรบ้างคะ? หลัก ๆ คงเป็น น้ำ น้ำมัน เครื่องดื่มต่าง ๆ แต่รู้ไหม? ดินเองก็มีโอกาสเป็นของเหลวได้เหมือนกัน เช่นขี้โคลนเป็นต้น แน่นอนสภาพดินเป็นสิ่งสำคัญในการก่อสร้าง และการทดสอบที่ดีก็ย่อมหมายถึงผลงานที่ดี เอาล่ะ! ไปทำความรู้จักกับ Liquid Limit ของดินและวิธีการทดสอบมันกันเถอะ

Liquid Limit ของดินคืออะไร ทำไมต้องรู้?

Liquid Limit ของดินคืออะไร ทำไมต้องรู้?

Liquid Limit (L.L.) หรือ ค่าพิกัดความเหลวของดิน เป็น 1 ใน 5 ลิมิตของคุณ Atterberg (ดูบทความเก่าได้ที่ Atterberg’s Limit) เป็นค่าที่บอกความชื้นในดินขณะที่กำลังเปลี่ยนสภาพจากของเหลวไปเป็นสารหนืดตัวในสถานะภาพพลาสติก (จุด B ในรูป)

โดยค่า L.L. หาได้จาก Liquid Limit Test เป็นการทดสอบหาค่าความชื้นเพื่อใช้ในการจำแนกประเภทของดินโดยระบบ Unified ซึ่งเคยกล่าวถึงในบทความ อุปกรณ์ Plastic Limit เอาให้ครบจบในเซ็ทเดียว (กดลิ้งก์ไปตามอ่านได้เลยค่ะ)

นอกจากนี้ค่าของ Liquid Limit ยังสามารถบอกคุณสมบัติของดินว่าสามารถรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างได้หรือไม่ ดินในบริเวณนั้นมีโอกาสเกิดดินสไลด์ได้มากน้อยเพียงใด เนื่องจากการทดสอบ Liquid Limit เปรียบเสมือนการจำลองการวัดค่า Shear Strength หรือ ค่าการรับแรงเฉือนของดินนั่นเอง

อุปกรณ์ Liquid Limit Test แบบครบเซ็ทมีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์ Liquid Limit Test แบบครบเซ็ทมีอะไรบ้าง?

พูดถึงอุปกรณ์ที่ใช้ใน Liquid Limit Test แล้ว ต้องบอกเลยว่าทาง CST มีขาย (อีกแล้ว) ค่ะ เราไม่ได้ขายแยก แต่จัดเป็นเซ็ท Liquid Limit Test เพื่อความสะดวกสบายของทุกท่านเรียบร้อย โดยในเซ็ทประกอบด้วย

  1. Liquid Limit Device แบบมือหมุนพร้อม Counter นับจำนวนตกกระแทก
  2. ที่ปาดดินแบบตะขอ
  3. ที่ปาดดินแบบสามแฉก

ส่วนเครื่องมือ/อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องมีเพิ่มเติมจากในเซ็ทนี้ก็จะเป็น เครื่องอบดิน เครื่องชั่งน้ำหนัก (มีขายค่ะ) กระบอกสำหรับผสมดิน (เอาถ้วยเซรามิกจาก Plastic Limit Set มาใช้ได้นะคะ)

วิธีทำ Liquid Limit Test

วิธีทำ Liquid Limit Test

วิธีทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 4318-93 สำหรับหาค่า Liquid Limit, Plastic Limit และ Plastic Index ของดิน ทำตามนี้เลยค่ะ

  1. นำดินใส่ถ้วย ผสมน้ำประมาณ 15-20 มิลลิลิตร หรือในปริมาณที่ทำให้ดินไม่เหลวจนเกินไปจนไหลเป็นน้ำ ผสมให้เข้ากัน หรืออาจผสมดินกับน้ำแล้วทิ้งข้ามคืนไว้ก็ได้ (ถ้ามีเวลานะ)
  2. เตรียม Liquid Limit Device ให้ก้นจานอยู่สูงกว่าฐานประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นตักดินใส่จาน โดยความหนาของดินตรงกลางประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้ที่ปาดดินแบบใดก็ได้ปาดตรงกลาง
  3. เคาะจานด้วยมือหมุน โดยใช้ความเร็วสม่ำเสมอ 2 ครั้งต่อวินาที จนกระทั่งดินตอนล่างของรอยบากเคลื่อนเข้าบรรจบกัน 1 เซนติเมตร แล้วจดบันทึกจำนวนครั้งของการเคาะไว้
  4. ปาดแต่งดินอีกครั้ง แล้วทำเหมือนเดิม ถ้าจำนวนการเคาะเท่ากันหรือต่างกันไม่เกิน 2 ครั้งให้ใช้ค่าเฉลี่ยของจำนวนการเคาะ นำดินบริเวณรอยบากไปหาปริมาณความชื้นโดยการชั่งน้ำหนักแล้วอบ (ในการเคาะครั้งแรก จำนวนครั้งควรมีประมาณ 25-35 ครั้ง ถ้ามากกว่าให้เพิ่มน้ำอีก แต่ถ้าน้อยกว่านั้นมากก็ให้ทำให้แห้งลง)
  5. ผสมน้ำกับดินแล้วทำตามข้อ 3-4 โดยให้มีจำนวนครั้งของการเคาะน้อยลงประมาณ 5 ครั้ง ทำจนได้จำนวนครั้งของการเคาะอย่างน้อย 3 ค่า (จำนวนการเคาะครั้งสุดท้ายควรอยู่ราว 5 - 10 ครั้ง)

เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งในการเคาะ (N) และความชื้น ตามรูป ค่าความชื้นที่จำนวนการเคาะ 25 ครั้ง เรียกว่า Liquid Limit

Summary *สรุป*

การทดสอบ Liquid Limit มีรายละเอียดเยอะและซับซ้อนพอควร ความยุ่งยากอยู่ตรงที่ต้องทำซ้ำ 3 ครั้ง และต้องเคาะจานแบบสม่ำเสมอ จากประสบการณ์เราจะมีปัญหาตอนนับจำนวนครั้งที่นับผิดนับถูก แต่เซ็ท Liquid Limit Test ของ CST มี Liquid Limit Device พร้อมตัวนับจำนวนตกกระแทก ไม่นับผิดแน่นอนค่ะ

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.