31.8.2021
“เส้น-ระนาบ-มุม” ศัพท์วัดมุมเน้นๆ ช่างสำรวจต้องรู้! เด็กโยธาห้ามพลาด!

แน่นอนว่าเมื่อเข้าวงการช่างสำรวจหรือวิศวโยธานั้น ความเที่ยงตรงและองศาเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะคำว่า “เส้น ระนาบ และมุม” วันนี้ช่างแว่นเลยนั้นคำอธิบายพร้อมภาพแบบเข้าใจง่ายๆ ให้คนใหม่ ๆ ในวงการได้เตรียมตัวกัน ก่อนจะเริ่มทำการสำรวจ เพราะหากฐานบ้านแข็งแรง บ้านเราก็จะมั่นคง!

Summary *สรุป*

     แน่นอนว่าเมื่อเข้าวงการช่างสำรวจหรือวิศวโยธานั้นความเที่ยงตรงและองศาเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราเลยก็ว่าได้โดยเฉพาะคำว่า “เส้น ระนาบ และมุม” วันนี้ช่างแว่นเลยนั้นคำอธิบายพร้อมภาพแบบเข้าใจง่ายๆให้คนใหม่ ๆ ในวงการได้เตรียมตัวกัน ก่อนจะเริ่มทำการสำรวจ เพราะหากฐานบ้านแข็งแรงบ้านเราก็จะมั่นคง!

เส้นดิ่งและเส้นราบ (Vertical Line, Horizontal Line) surveying theodolite สำหรับงานสำรวจเซอร์เวย์และกล้องวัดมุม
เส้นดิ่งและเส้นราบ (Vertical Line, Horizontal Line)

เส้น (Line)

เส้นในงานสำรวจแบ่งได้เป็น 2 แบบดังนี้
     - เส้นดิ่ง (Vertical Line) : จะเป็นเส้นที่เกิดในทิศตามแนวแรงดึงดูดโลก และมีเพียง1 เส้นต่อ 1 จุดบนผิวโลก ทำให้เส้นดิ่งนั้นกลายเป็นจุดอ้างอิงหลักในการทำงานสำรวจงานเซอร์เวย์โดยการหาเส้นดิ่งนั้นทำได้โดยใช้ลูกดิ่งแขวนเพื่อตามหาเส้นดิ่งในจุดนั้น ๆ  
     - เส้นราบ (Horizontal Line) :  เป็นเส้นที่จะตั้งฉากกับเส้นดิ่งเสมอ โดยจะมีหลายเส้นรอบๆ เส้นดิ่ง ซึ่งสามารถหาเส้นราบได้ด้วยการใช้หลอดระดับหรือที่ช่างชอบเรียกว่า “ลูกน้ำฟอง” ในการหาเส้นราบรอบๆเส้นดิ่งนั่นเอง

 ระนาบดิ่งและระนาบราบ (Vertical Plane, Horizontal Line) surveying theodolite สำหรับงานสำรวจเซอร์เวย์และกล้องวัดมุม
ระนาบดิ่งและระนาบราบ (Vertical Plane, Horizontal Line)

ระนาบ (Plane)

ระนาบเองก็ยังไม่คงพ้นคำว่า “ดิ่ง” และ “ราบ”โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบได้เหมือนเดิมดังนี้
     - ระนาบดิ่ง (Vertical Plane) : วิธีหาระนาบดิ่งก็ง่ายมากๆ หากเส้นดิ่งผ่านที่จุดใด ก็จะมีระนาบดิ่งที่นั่นราวกับคู่แท้ไม่พรากจากกัน
     - ระนาบราบ (Horizontal Plane) : หากระนาบดิ่งเหมือนคู่แท้ของเส้นดิ่ง ระนาบราบก็เหมือนมือที่สามที่เป็นรักสามเส้าของเรื่องโดยระนาบราบจะตั้งฉากกับเส้นดิ่ง ณ จุด ๆ นั้น

surveying theodolite สำหรับงานสำรวจเซอร์เวย์และกล้องวัดมุม
มุมดิ่งและมุมราบ (Vertical Angle, Horizontal Angle)

มุม (Angle)

แท้จริงแล้วมุมมีหลากหลายแบบมากแต่เพื่อความเข้าใจง่ายๆในพื้นฐานที่ต้องใช้กับเครื่องมือสำรวจทางเราจะขอยกตัวอย่างเพียง 2 แบบดังนี้
     - มุมดิ่ง (Vertical Angle) : เป็นมุมวัดบนระนาบดิ่งไปจบที่ระนาบราบตรงจุดที่ทำการวัดโดยมุมดิ่งสามารถเป็นมุมก้มหรือมุมเงยก็ได้
     - มุมราบ (Horizontal Angle) : มันคือมุมระหว่างระนาบดิ่ง 2 ระนาบ โดยวัดจากระนาบราบที่จุดนั้นเท่านั้นหากไม่ได้อยู่ในแนวระนาบราบ จะไม่ถือเป็นมุมราบ จำไว้ให้ขึ้นใจเผื่อออกสอบนะ!

SUMMARY สรุปเนื้อหา

      หากทุกท่านได้ลองอ่าน พร้อมดูภาพประกอบ แล้วจะเห็นชัดว่า ทั้งสามคำ(เส้น-ระนาบ-มุม) มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการทำความเข้าใจที่ดีที่สุด คือการลองไปปฏิบัติจริงกับตัวกล้องวัดมุม กล้องTotal Stationเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ลึกซึ่้งมากขึ้น เพื่อกลายเป็นช่างสำรวจ วิศวโยธามากฝีมือนะ! ถ้าคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์หรือสนุกดีก็อย่าลืมแชร์ลง Facebook เป็นกำลังใจให้ทีมงาน

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.