28.4.2022
ไม่มีฉันแล้วจะรู้สึก (ความสำคัญของงานสำรวจ)

หากมนุษย์ดำรงอยู่ได้ด้วย ‘ปัจจัยทั้ง 4’ คือ​ ที่อยู่​ อาหาร​ ยา​ เครื่องนุ่งห่ม​ (จริง ๆ ก็เงินด้วยล่ะนะ) ถ้าเปรียบชีวิตของคน ๆ หนึ่ง​ กับงานก่อสร้างแล้ว อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสามารถดำเนินได้เสร็จตามแผนกันล่ะ? มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ ไป๊!

Summary *สรุป*

4 ปัจจัยสำคัญของงานก่อสร้าง
4 ปัจจัยสำคัญของงานก่อสร้าง

4 ปัจจัยสำคัญของงานก่อสร้าง

     งานก่อสร้างเองก็มีปัจจัยทั้ง 4 เหมือนการดำรงชีวิตของมนุษย์เลย คือ

  1. ความปลอดภัย ทั้งก่อนก่อสร้าง ระหว่างก่อสร้าง และหลังก่อสร้าง นอกจากจะคำนึงถึงคนที่ทำงานอยู่ในไซต์งาน ยังต้องคำนึงถึงคนที่อยู่รอบ ๆ ไซต์งานด้วย
  2. คุณภาพงาน เรื่องนี้คงไม่ต้องสาธยายให้ยาว หากบ้านมีรอยร้าว หรือเสาเอียง คุณคงไม่อยากอยู่บ้านหลังนั้นแน่ ๆ
  3. กำหนดเวล​า​ เป็นปัจจัยที่ควบคุมผู้รับเหมาให้ทำงานเสร็จตรงเวลา
  4. งบประมาณ​ แน่นอนว่าเงินชนะทุกสิ่งค่ะ ทั้งราคาวัสดุ ค่าแรง​ หรือค่าเสียเวลา ทุกอย่างจะต้องสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดงานที่มีคุณภาพและเสร็จตามเวลาที่กำหนด

     โดย​ 4 ข้อด้านบนนั้น นอกจากคนใหญ่คนโตของไซต์งานที่จะต้องใส่ใจกับมันแล้ว ทุกคนที่มีส่วนร่วมในงานก่อสร้างต้องให้ความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะตำแหน่งสุดพิเศษอย่าง "ช่างสำรวจ"

งานสำรวจนั้นสำคัญไฉน
งานสำรวจนั้นสำคัญไฉน

งานสำรวจนั้นสำคัญไฉน

     ตั้งแต่มนุษยชาติก่อกำเนิดขึ้นมา การสำรวจเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สำรวจพื้นที่เพื่อสร้างที่อยู่ สำรวจหาแหล่งอาหาร แม้กระทั่งในยุครุ่งเรืองของอารยธรรมอียิปต์ยังมีการสำรวจพื้นที่เพื่อสร้างพีระมิดของฟาโรห์ เรียกได้ว่าช่างสำรวจมีตั้งแต่ยุคกระดาษปาปิรุสเลย

     แต่เดี๋ยวก่อน! หากคุณคิดว่างานสำรวจมันง่าย ใคร ๆ ก็ทำได้ คุณคิดผิด! ถ้ามันง่ายแบบนั้นจะมีสาขาวิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering) ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปทำไมกัน

     เนื่องจากงานสำรวจเป็นรากฐานการก่อสร้าง และต้องอาศัยองค์ความรู้ทั้งการคำนวณ การอ่านแบบ ความรอบคอบ ความชำนาญในการใช้อุปกรณ์งานสำรวจ และความเข้าใจด้านภูมิศาสตร์ (เบื้องต้น) ของแต่ละพื้นที่ ทำให้หน้าที่นี้มี ‘ความพิเศษ’ และงานก่อสร้างทุกที่จะต้องมีคนทำตำแหน่งนี้โดยเฉพาะ เรียกได้ว่าเป็นบุคคลแรกที่ได้เหยียบพื้นที่ก่อสร้าง

แล้วงานสำรวจเกี่ยวกับปัจจัย 4 ตรงไหน?
แล้วงานสำรวจเกี่ยวกับปัจจัย 4 ตรงไหน?

แล้วงานสำรวจเกี่ยวกับปัจจัย 4 ตรงไหน?

     นั่นสิ​ เกี่ยวยังไง? จากความเข้าใจของสมองที่มีมากกว่า8หมื่นเซลล์ของผู้เขียนนั้น จะขออธิบายเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

  1. ด้านความปลอดภัย อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น วิศวกรสำรวจ/ช่างสำรวจจะเป็นคนแรก ๆ ที่เข้าพื้นที่ไปสำรวจ ดังนั้นพวกเขาจะรู้ว่าดินตรงนั้นมีสภาพแบบไหน พื้นที่ตรงนั้นมีระดับเท่าไร และเมื่อนำข้อมูลมาให้วิศวกรโครงการมาวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการก่อสร้างที่มีความปลอดภัยตลอดโครงการ
  2. คุณภาพงาน เกี่ยวกับงานสำรวจตรงไหน? ในการทำงานจริงช่างสำรวจมีส่วนร่วมในการทำให้งานเกิดคุณภาพ เช่น ถ้าจะเทคอนกรีตพื้น ช่างสำรวจจะมาให้ตำแหน่งและระดับเทให้เป็นตามแบบ หลังจากเทคอนกรีตเสร็จก็ไม่พ้นช่างสำรวจอีกนั่นแหละค่ะที่ต้องมาเช็คค่าระกับหลังเทคอนกรีต เป็นการควบคุมคุณภาพงานเทคอนกรีตพื้น
  3. กำหนดเวล​า​ เรื่องนี้อาจไม่ได้เกี่ยวกับงานสำรวจโดยตรง แต่หากคิดดูแล้ว ถ้างานสำรวจไม่ได้คุณภาพ อาจเกิดการแก้ไขงาน และส่งผลให้งานไม่เสร็จตามเวลา
  4. งบประมาณ​ เงินสำคัญมาก (เน้นอีกรอบ) หาก ​3 ข้อด้านบน มีข้อใดข้อหนึ่งไม่สามารถควบคุมได้ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘งบบานปลาย’ ซึ่งมาจากการแก้ไขงาน การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่ปลอดภัย หรือค่าปรับหากงานล่าช้า (บางที่เจ้าของโครงการเขาปรับเงินผู้รับเหมาหลักล้านเลยนะคะ ถ้างานไม่เสร็จตามสัญญา)

SUMMARY

     เห็นได้ว่าทุกการก่อสร้างเริ่มต้นที่การสำรวจ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทำงาน ความถูกต้องของแบบกับหน้างาน จะต้องพึ่งพาตำแหน่ง ‘วิศวกรสำรวจ/ช่างสำรวจ’ พร้อม ‘เครื่องมือสำรวจ’ คุณภาพดี (หาซื้อได้ที่เว็ปไซต์เรานะคะ ขอขายตรง :D) ถ้าไม่มีพวกเขาเหล่านี้ งานก่อสร้างก็ไม่สามารถเริ่มหรือสำเร็จได้

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.