เสาหลักไฟฟ้า : ส่งกระแสไฟฟ้าทั่วไทย
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องแรกของไทยเริ่มใช้งานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ณ บริเวณกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน ก่อนจะพัฒนามาเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในปัจจุบัน
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เราจะใช้การไหลของน้ำตกแทนการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า น้ำนั้นจะเคลื่อนที่จากที่สูง ไหลลงที่ต่ำ หรือจากแรงดันน้ำสูงไปต่ำ เพื่อให้สามารถส่งน้ำไปได้ไกล ๆ นั่นเอง
เช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ออกมาจากโรงไฟฟ้านั้นจะเป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อให้ส่งไฟฟ้าไปได้ทั่วทุกพื้นที่ ก่อนจะค่อย ๆ ถูกลดกำลังลงด้วยโรงไฟฟ้าในชุมชน และมุ่งตรงไปสู่หม้อแปลงไฟฟ้าประจำบ้านเพื่อลดกำลังไฟฟ้าให้เหลือ 220 โวลต์ ซึ่งเหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของเรา
และพระเอกในการจ่ายไฟฟ้าก็คือเสาไฟฟ้าที่ประกอบด้วยเสาคอนกรีตตั้งตรงแน่วไปตามแนวถนน และสายไฟชนิดต่าง ๆ ทั้งสายไฟฟ้า (ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า) สายไฟฟ้าสื่อสาร (สายสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต)
ทำไมต้องเอาสายไฟลงดิน?
เพื่อทัศนียภาพที่งดงามของเมือง และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงไม่ได้เจออันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร หลายพื้นที่จึงเริ่มนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เช่น กรุงเทพมหานคร พัทยา เชียงใหม่ เป็นต้น แม้ว่าจะมีฉนวนหุ้มรอบสายไฟฟ้าแล้วก็ตาม แต่ด้วยสภาพอากาศที่หลากหลายของประเทศไทย ทำเมื่อเมื่อเวลาผ่านไปฉนวนอาจจะหลุดลอกไปได้ และเมื่อสายทองแดงที่ใช้สำหรับนำกระแสไฟฟ้าโผล่พ้นสัมผัสอากาศโดยปราศจากเกราะป้องกัน เหล่านกหรือกระรอกที่ใช้สายไฟพวกนี้ในการสัญจรก็อาจจะสัมผัสโดยตรงกับกระแสไฟฟ้า นำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อันตรายถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงได้
นอกจากนี้ จากการสำรวจของกรุงเทพมหานคร พบว่าความรุงรังของสายไฟฟ้านั้นราว 50% คือสายตาย หรือสายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการดำเนินการ จึงจะต้องจัดการสายตายทั้งหมดออกเสียก่อนจะนำสายไฟทั้งหมดลงใต้ดิน สำหรับพื้นที่ที่ยังไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ จะใช้วิธีจัดการสายตายออกไปแล้วจัดเรียงสายสื่อสารที่ยังใช้งานได้อยู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไปก่อน
ปฏิบัติการสายไฟลงดิน ทำไมยาก?
การนำสายไฟฟ้าลงดินนั้นย่อมมีอุปสรรคทางเทคนิค โดยสายไฟฟ้าแรงสูงจะถูกนำไปใต้กึ่งกลางของถนนหลัก[3] ดังตัวอย่างการนำสายไฟฟ้าลงดินใต้ถนนพระราม 3 หลังจากสำรวจความพร้อมในการย้ายสายไฟลงดินแล้ว เจ้าหน้าที่จะเปิดหน้าถนนช่วงกึ่งกลาง และขุดดินให้ลึกลงไปประมาณ 25 เมตร เพื่อวางท่อ HDPE ที่ใช้เป็นฉนวนสำหรับป้องกันไฟฟ้ารั่วไหล โดยวางเรียงไปตามแนวถนน โดยทุกช่วง 300 - 400 เมตร จะมี Duct Bank* สำหรับล็อกสายไฟไม่ให้หลุดกระจายแยกกัน ทั้งยังช่วยให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในอนาคตด้วย
เมื่อสายไฟฟ้าแรงสูงลงดินโดยอยู่กลางถนนสายหลักแล้ว สายไฟฟ้าแรงต่ำที่ถูกลดกำลังลงจะโดยอยู่ใต้บาทวิถีของถนนสายรองลงมา ก่อนจะเข้าสู่หม้อแปลงของบ้าน
*Duct Bank 1 ชิ้น จะสามารถรองรับท่อ HDPE ได้ 30 เส้น ซึ่งท่อ HDPE 1 เส้นจะมีสายไฟฟ้าอยู่อีก 5 เส้น นั่นก็แปลว่า 1 Duct Bank จะมีสายไฟทั้งหมด 30 x 5 = 150 เส้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การนำสายไฟฟ้าลงดินนั้นก็มีอุปสรรคมากมายขวางอยู่[4] สรุปได้ 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ
ระยะเวลาในการดำเนินการ เพราะเป็นถนนสัญจร ทำให้สามารถทำงานได้เพียง 7 ชั่วโมง หรือเวลา 4 ทุ่ม - ตี 5 เท่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบการจราจรหลัก นอกจากนี้ยังต้องเผื่อเวลาสำหรับขุดเจาะดิน และปิดหน้างานเพื่อให้ยานพาหนะสัญจรได้ในตอนกลางวันและป้องกัน อุบัติเหตุจากการตกหลุมลึก
ความละเอียดในการเชื่อมต่อท่อ HDPE และสายไฟฟ้าที่ใช้ความปรานีตในการเชื่อมต่อ
งานใต้ดิน เนื่องจากต้องขุดเจาะดิน ทำให้ไม่สามารถคาดเดาสิ่งที่จะเจอในดินได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวชั้นดิน น้ำใต้ดิน ตอม่อหรือโครงสร้างใต้ดิน หรือท่อประปาเก่าที่ยังอยู่ใต้ดิน
อุปกรณ์งานสำรวจที่ขาดไม่ได้ในงานนี้!
และเพื่อให้นำสายไฟฟ้าลงดินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น จึงมีการใช้ GPS เป็นตัวช่วยสำคัญในการระบุพิกัดการขุดเจาะให้แม่นยำตามเส้นทาง ไม่เบี้ยวซ้ายหรือเอียงขวาให้หลุดออกจากเส้นกึ่งกลางถนน รวมถึงเป็น ล้อวัดระยะทาง เพื่อวัดระยะทางดูว่า Duct Bank แต่ละชิ้นห่างกัน 300-400 เมตรจริงหรือไม่ แน่นอนว่า CST มีทั้งหมดจ้า
Summary
นอกจากประโยชน์ทางตรงอย่างความปลอดภัยและความเรียบร้อยของชุมชนแล้ว การนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินนั้นยังส่งเสริมทัศนียภาพของเมืองให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การลงทุนและผลพลอยได้ทางอ้อมอีกมากมายให้แก่เมืองและประเทศของเรา นอกจากนี้ หากวิศวกรโยธาร่วมมือกับวิศวกรไฟฟ้าในการออกแบบถนนที่สามารถรองรับการติดตั้งสายไฟฟ้าแรงสูงไว้ใต้ดินได้ เราจะสามารถประหยัดงบประมาณชาติได้นับเท่าตัวด้วย มีแต่ได้กับได้!
[2] https://www.mea.or.th/content/detail/82/3131/6871
[3] https://www.youtube.com/watch?v=O3-jtWISYW0
[4] https://www.youtube.com/watch?v=bNEBJ7iWEzI