เสายามน้ำคืออะไร?ถ้าคุณเคยไปเดินที่แถวริมแม่น้ำลำคลองคุณอาจจะเคยเห็นเสาที่มีขีดๆ ปักอยู่ในน้ำดูเป็นอุปกรณ์ที่เรียบง่าย แต่รู้ไหมว่าเสาที่ดูธรรมดาๆ เป็นอุปกรณ์สุดล้ำที่ช่วยชาวบ้านรับมือกับน้ำท่วมมาแล้ว
สาเหตุที่น้ำท่วมในไทย (เขื่อนขั้นบันได ปัญหาแม่น้ำโขง)
สาเหตุที่น้ำท่วมในไทย (เขื่อนขั้นบันได ปัญหาแม่น้ำโขง) เมื่อปลายกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข่าวอุทกภัยที่มณฑลเหอหนาน[1]ทางตอนกลางของประเทศจีน ซึ่งทางการจีนได้ประกาศเตือนภัยในเหอหนานและตัดสินใจระบายน้ำออก
ทำให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สสป.ลาว)เป็นประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบจากมวลน้ำมหาศาลที่เคลื่อนตัวมาสู่ลุ่มแม่น้ำโขง[2] และส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว[3]
ย้อนกลับไปเมื่อ 2562 หลังจากมีการก่อสร้างเขื่อนจิ่งหงในโครงการ“เขื่อนขั้นบันได” มณฑลยูนนาน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนโดยมีจุดประสงค์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขายนั้น ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในช่วงจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ และนครพนมนั้นลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูน้ำหลาก และส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี2564
ทางการไทยจึงได้ขอให้จีนและสสป.ลาว ระบายน้ำมาสู่แม่โขงเพื่อรักษาสมดุลทางสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของชาวแม่โขง[6] ซึ่งจีนเองนั้นก็ยืนยันว่ามีการปล่อยน้ำในระดับที่เหมาะสมแล้ว
น้ำท่วมอุบลราชธานีกับทางรอดสุดล้ำ
โดยในปีเดียวกันนั้น จังหวัดอุบลราชธานี กลับต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ จากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่จังหวัดยังเป็นพื้นที่รับน้ำจากแม่น้ำมูลและชี[7] ทางทีมวิจัยจึงร่วมมือกันกับชุมชมริมแม่น้ำมูลเพื่อคิดค้น และทดลองวิธีแจ้งเตือนระดับน้ำ ทั้งจากแม่น้ำมูล ชี และโขง มาตลอดระยะเวลา 2 ปี[8]
กอปรกับพายุดีเปรสชั่น “เจิมปากา” ที่เข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และใต้ของไทยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564[9] ทำให้ระดับน้ำในพื้นที่รับน้ำในบริเวณดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น จนในที่สุด จึงปรากฏเป็น “เสายามน้ำ” หรือ “เสาวัดระดับน้ำ” เครื่องมือที่ช่วยชาวบ้านเทศบาลตำบลกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ
เพื่อไว้สำหรับสังเกตระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง หากระดับน้ำอยู่สูงเกินว่าเกณฑ์ที่กำหนด และอาจนำไปสู่การเกิดอุทกภัย ชาวบ้านที่สังเกตเห็น จะนำไปแจ้งแก่ลูกบ้านคนอื่นๆ ให้เตรียมตัวในการรับมือมวลน้ำ หรืออพยพออกจากพื้นที่ได้ทันที
เสายามน้ำทำจากอะไร? ใช้เพื่ออะไร?
โดยโครงสร้างแล้ว เสายามน้ำเป็นเสาปักหมุดขนาดเล็กที่แข็งแรงมั่นคงซึ่งนำมาปักไว้ที่ริมตลิ่ง จากนั้นใช้แผ่นไม้หรือเหล็ก ยึดติดที่เสาปักหมุด เพื่อให้มีพื้นผิวเรียบไว้สำหรับติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำ โดยความสูงของเสายามน้ำจะอยู่ที่ 108 – 111 เซนติเมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level : MSL)
ซึ่งเสาต้นหนึ่งจะมีความสูงอยู่ที่ 1 เมตร ชาวบ้านจะติดตั้งเสายามน้ำไล่ระดับจากต่ำไปสูงจากตลิ่ง นอกจากนี้หากระดับน้ำสูงเกินกว่า 109 เซนติเมตร ชาวบ้านก็จะทำการเก็บสถิติของระดับไว้ เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังภัยอีกด้วย โดยชาวบ้านในพื้นที่สามารถรับรู้เหตุการณ์ได้ ก่อนที่จะมีการแจ้งเตือนจากทางการ
SUMMARY สรุปเนื้อหา
แม้อุทกภัยเป็นสิ่งที่เราไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้ แต่รับมือกับมันได้โดยการติดตามข่าวสาร มีสติเตรียมพร้อมอยู่ทุกเมื่อ หากคุณมีแม่น้ำ ลำคลองอยู่ใกล้ๆบ้านของคุณ ทำไมไม่ลองทำเสายามน้ำด้วยตัวเองดูล่ะ? เรามี 'แผ่นวัดระดับน้ำ' หรือ 'Staff Gauge' พร้อมจำหน่าย สำหรับนักสังเกตการณ์ทุกท่าน เชิญสำรวจเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์เราได้เลย!