กว่าจะมาเป็น “ปูน”
ปูนหรือที่บางคนเรียกว่า ซีเมนต์ (Cement) นั้น คือผงที่ได้จากการ บดหินปูนตามธรรมชาติ และผสมกับวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติในการช่วยยึดเกาะตามอัตราส่วนที่คำนวณไว้ ซึ่งปูนที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ปูนพอร์ตแลนด์ (Portland Cement) โดยชื่อ “พอร์ตแลนด์” นั้นมาจากการสกัดหินพอร์ตแลนด์ (Portland Stone) จากเกาะพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland) ดอร์เซต (Dorset) ประเทศอังกฤษนั่นเอง
ในประเทศไทยนั้น มอก. ได้แบ่งประเภทปูนเป็น 5 ประเภท ตามชนิดโครงสร้าง ตั้งแต่โครงสร้างทั่วไป (ประเภทที่ 1) จนถึงโครงสร้างที่อยู่ในบริเวณที่มีการกัดกร่อนสูง (ประเภทที่ 5) เช่น ในทะเล เป็นต้น
มอร์ต้า VS คอนกรีต
ปูนเมื่ออยู่ในสภาพและอุณภูมิปกติจะมีลักษณะเป็นผง แต่เมื่อผสมกับน้ำเปล่า จะกลายเป็นของเหลวหนืดที่เรียกว่า “ซีเมนต์เพสต์” (Cement Paste) ซึ่งเจ้าซีเมนต์เพสต์ตัวนี้จะยังไม่สามารถถูกนำไปใช้งานได้ จนกว่าจะผสม “มวลรวมละเอียด” หรือ “ทราย” และกลายเป็น “มอร์ต้า” (Mortar) ที่จะถูกใช้ในการฉาบผนังก่ออิฐนั่นเอง
จากนั้น เมื่อผสมมอร์ต้ากับ “มวลรวมหยาบ” หรือ “หิน” ก็จะได้ “คอนกรีต” นั่นเอง โดยคอนกรีตจะถูกใช้ในงานโครงสร้างหลักต่าง ๆ ที่ต้องรับกำลัง เช่น ฐานราก เสา ต่อมอ คาน ฯลฯ เป็นต้น ดังแสดงในภาพ
คุณสมบัติที่แตกต่าง นำไปสู่ภารกิจที่ต่างกัน
ซีเมนซ์เพสต์ ช่วยในการยึดติดหรือช่วยเกาะมวลรวมในคอนกรีต ในขณะที่หินนั้นจะช่วยกระจายแรงที่โครงสร้างรับไว้โดยให้กระจายภายในโครงสร้าง (และเหล็กเสริม) อย่างทั่วถึง ทำให้คอนกรีตสามารถรับแรงอัดได้มากขึ้น
หากทดสอบด้วย เครื่องทดสอบแรงอัดคอนกรีต จะพบว่าคอนกรีต (ที่มีหินและทราย) จะสามารถรับแรงอัด (Compression) ได้มากกว่าซีเมนซ์เพลสต์หรือมอร์ต้า และ Last Boss ที่ใคร ๆ ก็คาดไม่ถึงก็คือ “น้ำ” นั่นเอง น้ำนั้นมีผลโดยตรงกับกำลังรับแรงอัด (มีหน่วยเป็นกิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือ Kilogram per square metre , ksc นั่นเอง)
ในการวัดแรงอัดของคอนกรีต นอกจากจะคำนวณสูตรการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต จะมีค่า Water Cement Ratio (W/C Ratio) โดยเป็นการคำนวณก่อนผสมคอนกรีตแล้ว ยังทดสอบค่าการยุบตัว (Slump Test) หลังผสมคอนกรีตเสร็จทันทีได้อีกด้วย
Summary
เรียกได้ว่า ปูน มวลรวม และน้ำ นั้นเป็น 3 เสาหลักของการผสมคอนกรีตอย่างสมบูรณ์แบบ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการนำคอนกรีตไปใช้งานชนิดใด (คหสต. ควรสรุปความต่างระหว่างปูน มอร์ต้า และซีเมนต์อีกรอบนึงตรงนี้นะ เพราะในท่อเกริ่นเราบอกว่าเราจะดูความต่างระหว่างสามอย่างนี้กัน) โดยปูนนั้นคือส่วนผสมตั้งต้น หากนำไปผสมกับน้ำและทราย จะได้มอร์ต้า และหากนำมอร์ต้าไปผสมกับหิน จะได้คอนกรีตนั่นเอง
สุดท้ายนี้ ขอฝากสำนวน “ทหารถือปืนแบกปูนไปโบกตึก” ในสำนวนนี้จะตีความได้ว่า ปูนในที่นี่ก็คือ มอร์ต้า ไม่ใช่ปูนธรรมดาอย่างที่เคยเข้าใจกัน