หลังแผ่นดินไหว 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา หลายอาคารในไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคเหนือ เริ่มมีการตรวจสอบความเสียหาย ทั้งในส่วนที่เห็นชัด และในส่วนที่ “อาจมีแต่ยังไม่แสดงตัว”หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่างและวิศวกรใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารหลังเหตุการณ์แบบนี้ก็คือ “เครื่องทดสอบคอนกรีต” ในบทความนี้เราขอแชร์ในฐานะช่างตรวจสอบอาคาร ว่าเครื่องพวกนี้ช่วยอะไรได้บ้าง ตรวจแบบไหน แล้วมันเกี่ยวข้องยังไงกับความแข็งแรงของอาคารหลังแผ่นดินไหวที่หลายคนกังวล
หากคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้ด้านใดด้านหนึ่ง แล้วเจอคนที่ทำเรื่องเหล่านั้นไม่ถูกต้อง มันก็ไม่น่าแปลกใจถ้าคน ๆ นั้นไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นผิด แล้วถ้าคนที่ทำกลับเป็นคนที่ทำงานนั้นเป็นประจำล่ะ? คุณคงรู้สึก “อ้าว! เฮ้ย! ...อะไรวะนั่น?” เหมือนกับเราที่เห็นข่าว ช่างปูนไม่โม่ปูนแล้วเทปูนเลย เฮ้ย!
เหล็กเส้นตรง ไม่คดงอ สวยงาม เป็นเหล็กที่แข็งแรง สามารถนำมาใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็กได้... เหรอ? ขนาดคนเรารู้หน้าไม่รู้ใจ นับประสาอะไรกับเหล็กเส้น สิ่งที่จะทำให้เรารู้ว่าเหล็กเส้นนั้นสามารถใช้ได้ต้องมาจากการทดสอบเท่านั้น
เคยสงสัยกันไหมคะว่าบรรดาคอนโดหรือบ้านจัดสรรโครงการใหญ่ๆ เขามีวิธีการสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าเข้ามาจับจองพื้นที่ในโครงการกันอย่างไร? หนึ่งในทริคก็คือการตรวจสอบการเทคอนกรีตพื้น นี่คือเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ จากประสบการณ์อันน้อยนิดในการทำงานในโครงการใหญ่ของผู้เขียน
เวลาดูหนังแนวปล้น/สืบสวน เครื่องมือหนึ่งที่ต้องโผล่มาคือสว่านเครื่องใหญ่ไว้เจาะตู้เซฟ ซึ่งในงานวิศวกรรมเองก็มีเครื่องมือที่หน้าตาคล้ายสว่านสุดๆ จนผู้เขียนเห็นแล้วอดนึกถึงไม่ได้ (หาดูได้ในเว็บ CST เลย) โดยเจ้าเครื่องมือนี้คือตัวช่วยชั้นดีในการเจาะหาความแข็งแรงของคอนกรีต
หลังจากที่นั่งดูหนังแนวปล้นระดับโลกที่มีการป้องกันอย่างแน่นหนา สิ่งที่เหล่าตัวเอก (หรือโจร) จะต้องเจอแทบจะทุกเรื่องก็คือเลเซอร์ที่ไขว้กันไปมา โดยหากโดนเข้ามันจะส่งสัญญาณเตือน ทำให้เป็นฉากที่ลุ้นจนตัวโก่งในหนัง แต่ในชีวิตจริง ในการก่อสร้างจริงๆ ก็มีเลเซอร์ที่ทำให้เราลุ้นจนตัวโก่งเช่นกัน วันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งนั้นกัน